Automator : ตัวอย่างจากสถานการณ์จริง Automator ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

posts
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่า Automator นี่มีเอาไว้ใช้ทำอะไรแน่ ผมจะลองยกตัวอย่างแบบละเอียดกว่าโพสที่แล้วก็แล้วกันนะครับ เผื่อจะเห็นภาพได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างที่ 1
เช่น ผมมีไฟล์ภาพขนาด 3216x2136 pixel (หรือขนาด 8 Mega Pixel ที่ประมาณ 3.3 MB ต่อภาพ) มีทั้งหมดอยู่ 577 ไฟล์ในแฟ้มงานโปรเจคของผมใน My Document แล้วผมต้องการที่จะ
- เปลี่ยนชื่อใหม่ทั้งหมด จากเดิมชื่อว่า R00-XXX.jpg เป็น p-XXX.jpg และ
- ย่อขนาดจาก 3216x2136 เป็นขนาด 1600x1200
ผมมีทางเลือกระหว่าง
- หาโปรแกรมจัดการกับภาพ เช่น iPhoto ขึ้นมาแล้ว import รูปเข้าไปจัดใหม่, เปลี่ยนชื่อ แล้ว Export ออกมาให้ได้ขนาดที่ต้องการ คิดว่าขั้นตอนทั่งหมดนี้จะใช้เวลาไปเท่าไหร่ครับ?
- ใช้ Automator เขียน workflow ขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนชื่อ กับลดขนาดไฟล์ให้ได้ตามที่ต้องการ
- หาโปรแกรมเฉพาะทางอื่น ๆ มาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ส่วนใหญ่สามารถหาได้ใน internet ครับ แต่จะมีแบบที่เสียเงินซื้อบ้าง และทำได้อย่างที่ต้องการไม่ทั้งหมดบ้าง .. ส่วนใหญ่จะเสียเวลาหาโปรแกรม + เรียนรู้วิธีใช้ใหม่ครับ..
และจากการใช้ Automator เพื่อลดขนาดรูปจาก 3216x2136 pixel มาที่ 1600x1200 pixel จากเดิมขนาด 3.3MB โดยประมาณต่อภาพ เหลือที่ประมาณ 300KB ต่อภาพ ทั้งหมดผมใช้เวลาประมาณ 12 นาทีโดยประมาณ .. และเป็นการทำงานแบบ สั่งทีเดียวจบครับ ผมสามารถเอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้อีก.. (อันนี้นั่งจับเวลาเองกับมือครับ ตอนที่ทำ slideshow งานแต่งให้เพื่อนผม)
มาต่อกันที่การเปลี่ยนชื่อ เสียดายที่ภาพงานแต่งเพื่อนของผมไม่ต้องเปลี่ยนชื่อผ่าน automator ครับ เลยไม่มีตัวเลขยืนยันแน่นอน มีแต่จะที่ลองเองกับชุดภาพถ่ายส่วนตัวจำนวน 83 ไฟล์ภาพใช้เวลาประมาณไม่ถึง 2 วินาทีในการเปลี่ยนชื่อทั้ง 83 ภาพใหม่ และยังมีลำดับการเรียงภาพเหมือนเดิมครับ
ที่จะเสียเวลาจริง ๆ คือการสร้าง workflow ของ automator ครับ สำหรับตัวผมเองคิดว่า เรียนรู้ตรงนี้ไว้เองดีกว่า อย่างน้อย ถ้าเขียน workflow เสร็จไปแล้ว เราก็เก็บไว้ใช้อีกได้เรื่อย ๆ และสามารถสร้าง workflow ที่เราต้องการเพิ่มเองได้อีกในอนาคตครับ =)
ตัวอย่างที่ 2
ถ้าเรามี workflow ที่ใช้เป็นประจำอยู่เยอะ ๆ แล้ว .. ในตัว Automator เองเปิดโอกาสให้เราเซฟ workflow ที่เรามีเอาไว้ในเมนูบน Finder แล้วเรียกใช้งานโดยการคลิ๊กขวาบนเมาส์ (หรือกด Ctrl+Click) ได้แบบนี้ครับ
ทำให้เราไม่ต้องเปิด Automator ขึ้นมาทุกครั้งในการทำงาน และสามารถแจกให้กับ Mac เครื่องอื่นทำงานแบบเดียวกันนี้ได้อีก =)
note : ดู การ save workflow ใน Automator ประกอบ
ตัวอย่างที่ 3
ผมสามารถเปลี่ยน workflow ที่มีอยู่ใน Automator แล้วสร้างโปรแกรมเล็ก ๆ แบบ stand alone ขึ้นมาทำงานเฉพาะอย่างได้ ซึ่งโปรแกรม stand alone หรือว่า script โปรแกรมเล็ก ๆ เหล่านี้ ทำงานได้ด้วยตัวของเค้าเองครับ คือไม่จำเป็นต้องเรียกผ่าน Automator และยังสามารถทำงานแบบเดียวกันได้อีกบน Mac OS X เครื่องอื่น ๆ ด้วย
สรุป
จากตัวอย่างการใช้งาน Automator ที่ผมเขียนทั้งหมดนี้พอจะเห็นภาพขึ้นบ้างไหมครับ?
จริง ๆ Automator สามารถประยุกต์ไปได้อีกสารพัดแบบเลยครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจินตนาการไปได้แค่ไหน ลองเล่นกันดูนะครับ ขอให้มีความสุขในการใช้งาน Automator ครับ =)
- Printer-friendly version
- Login to post comments
How-Tos
- การติดตั้ง OS X Leopard (10.5)
- ใช้งาน OS X เบื้องต้น
- OS X Bundle Apps
- การติดตั้ง Windows บน OS X (Boot Camp)
Comments
posts
เคยแตะหลายครั้งและครับ
เคยแตะหลายครั้งและครับ แต่ก็งงโคตรงง เลยปล่อยมันApp นั้นไว้อย่างนั้นต่อไป ต้องมีการเปิดคอร์สสอนแล้วล่ะ
posts
เอาเป็น
วันไหนผมว่างจะมาสอนทำ automator แบบ basic สุดๆให้ละกันครับ
เพราะผมเองก็ยังไม่ค่อยจะได้เรื่องกับเจ้านี่เท่าไร แค่พอทำได้บ้าง
posts
basic automator
เรื่องนี้พูดยากครับ
posts
ลองทำตามแล้วอ่ะคับแต่ก็งง
ลองทำตามแล้วอ่ะคับแต่ก็งง โคตรยากเปลี่ยนชื่อไฟล์หลายๆไฟล์อ่ะคับ ลองทำแล้วยิ่งดูยิ่งลองทำยิ่ง งง
แง้ๆๆๆ
ตอนนี้โหลด Rename4Mac มาและแบบเสียตังด้วยแพงฉิบแต่ก็ยอม
posts
งงตรงขั้นตอนไหนเหรอครับ?
ถ้าระบุขั้นตอนที่ไม่เข้าใจมาได้จะดีมากครับ เผื่อว่าผมจะได้เขียนอธิบายเพิ่มให้ และเป็นประโยชน์กับสมาชิกท่านอื่น ๆ ครับ =)